คำนิยาม
การขุดสภาพคล่อง (Liquidity Mining)
เป็นวิธีที่จะได้รับเหรียญคริปโตมากขึ้นโดยการ staking เป็นเทรนด์ใหม่ในแพลตฟอร์มการเทรดแบบกระจายอำนาจ (Decentralized Finance: DeFi) ซึ่งจะช่วยให้นักลงทุนคริปโทเคอร์เรนซีสามารถลงทุนในสินทรัพย์ของพวกเขาและได้รับผลตอบแทนสูงขึ้น และทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในระบบนิเวศนี้ได้ กล่าวโดยสรุปคือ หมายความว่าคุณสามารถรับรางวัลได้โดยการล็อคเหรียญคริปโตของคุณ
คลังสภาพคล่อง (Liquidity Pool)
แต่ละตลาดที่รองรับการซื้อขายแบบอัตโนมัติ (Automatic Market Making: AMM) จะมีกองทุนร่วม ซึ่งจะทำให้ AMM มีกองทุนสำหรับการซื้อขายแบบอัตโนมัติ ระหว่างการซื้อขาย
ผลคูณของจำนวนสินทรัพย์ในสองเหรียญในกองทุนร่วมของตลาดจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ผู้ใช้งานสามารถเป็นผู้ดูแลสภาพคล่องการซื้อขาย(Market Maker)ได้โดยการจัดหาสภาพคล่องให้กับกองทุนร่วม เพื่อให้ได้เงินปันผลจากการแลกเปลี่ยนกองทุนอัตโนมัติตามสัดส่วนของกองทุนร่วม เมื่อเพิ่มสภาพคล่อง คุณต้องเพิ่มสินทรัพย์เป็นสองเหรียญพร้อมกันตามสัดส่วน เมื่อทำการถอน สินทรัพย์ สินทรัพย์จะถูกแปลงเป็นสองเหรียญตามสัดส่วนและส่งคืนพร้อมกัน
การซื้อขายแบบอัตโนมัติ (AMM)
หุ่นยนต์การซื้อขายแบบอัตโนมัติจะกำหนดราคา swap ตามอัตราส่วนของโทเค็นสองประเภทในคลัง เมื่อทำการสั่งซื้อ ผู้ซื้อขายจะทำการซื้อขายโดยตรงตามราคาที่ระบบกำหนด การใช้หุ่นยนต์อัลกอริทึมเพื่อจำลองพฤติกรรมการซื้อขายในตลาดและจัดหาสภาพคล่องให้กับตลาดเรียกว่าการซื้อขายแบบอัตโนมัติ (AMM) การซื้อขายแบบอัตโนมัติ (AMM) บน Gate.io จะคำนวณราคาซื้อขายตาม "constant product market maker model" (x * y = k) เพื่อจัดหาการเสนอราคาที่ต่อเนื่องให้กับตลาด
Impermanent Loss
หมายถึงการสูญเสียเงินทุนที่เกิดจากความแตกต่างของราคาในการเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์ดิจิทัลหลังจากที่นักลงทุนฝากสินทรัพย์ดิจิทัลลงในคลังสภาพคล่อง ไม่ว่าราคาของสินทรัพย์ดิจิทัลจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด ก็จะก่อให้เกิด impermanent loss ยิ่งมีความคลาดเคลื่อนมากเท่าใด ก็จะยิ่งเกิด impermanent loss มากขึ้นเท่านั้น นี่เป็นปัญหาสำคัญสำหรับการซื้อขายแบบอัตโนมัติในปัจจุบัน
Forced Multi-token Exposure
เช่นเดียวกับ Impermanent Loss Forced Multi-token Exposure เป็นความท้าทายหลักสำหรับการซื้อขายแบบอัตโนมัติ (AMM) ในปัจจุบัน Forced Multi-token Exposure หมายถึงความจริงที่ว่า การซื้อขายแบบอัตโนมัติ (AMM) มักจะต้องการให้ผู้ให้บริการสภาพคล่องฝากโทเค็นสองโทเค็นที่แตกต่างกันเพื่อให้แน่ใจว่ามีสภาพคล่องเท่ากัน ซึ่งหมายความว่าผู้ให้บริการสภาพคล่องไม่สามารถรักษาความเสี่ยงของโทเค็นเดียวในระยะยาวได้และจำเป็นต้องเพิ่มสินทรัพย์สำรองเพิ่มเติม ดังนั้นจึงเป็นการเพิ่ม forced multi-token risk exposure
การขุดสภาพคล่อง (Liquidity Mining) และ Impermanent Loss
เมื่อไตรมาสที่ 3 ของปี 2021 Gate.io ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์การขุดสภาพคล่องซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเปิดใช้งานตลาดที่ไม่มีใครซื้อขายและให้ตัวเลือกการลงทุนที่เป็นทางเลือกให้แก่ผู้ใช้งาน ด้วยการสนับสนุนที่แข็งแกร่งของแพลตฟอร์มนี้ การขุดสภาพคล่องของ Gate.io มีอัตราผลตอบแทนต่อปีที่สูงมาก ผลิตภัณฑ์ตัวดังกล่าวจึงเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์สกุลเงินดิจิทัลที่ดีที่สุดในตลาดกระทิง ณปัจจุบัน
ไปที่ Gate.io Liquidity Mining →
ในการเข้าร่วมการขุดสภาพคล่อง ผู้ใช้งานสามารถจำนำโทเค็นของตนเองเพื่อจัดหาสภาพคล่องของโทเค็นให้แก่คลังสภาพคล่องได้ และรับเงินปันผลค่าธรรมเนียมจากธุรกรรมการซื้อขายแบบอัตโนมัติของกองทุนร่วมได้ตามสัดส่วนของกองทุน สำหรับกฎในการขุดสภาพคล่องและวิธีการมีส่วนร่วมในการขุดสภาพคล่อง สามารถดูได้ที่:
FAQ - Liquidity Mining
Gate.io Cryptopedia: How to Get Liquidity Mining Yields?
Science: What You Need to Know About Investments in Liquidity Mining Products
Science: From Market Maker to Liquidity Mining, How Important is Liquidity?
การกำหนดราคาบนคลังสภาพคล่อง
กระบวนการในการเข้าร่วมการขุดสภาพคล่อง impermanent loss ถือเป็นหนึ่งในประเภทความเสี่ยงหลักที่จะต้องพิจารณา ในการจัดหาสภาพคล่องให้กับคลัง ผู้ใช้งานต้อง stake โทเค็นที่แตกต่างกันสองโทเค็น ในคลังสภาพคล่อง จำนวนของทั้งสองโทเค็นจะสมดุลตามอัลกอริทึมเฉพาะ
ในการขุดสภาพคล่องของ Gate.io จำนวนของทั้งสองโทเค็นจะสมดุลตาม "constant product market maker model" (x * y = k) สำหรับจุดดุลยภาพใดๆ (A,B) อัตราส่วนการแลกเปลี่ยนระหว่างสองโทเค็นคือ p (x / y) = A / B นั่นคือราคาที่ถูกกำหนดโดยอัตราส่วนของจำนวนของทั้งสองโทเค็นในคลังสภาพคล่องและการเปลี่ยนแปลงแบบเรียลไทม์จากการเปลี่ยนแปลงของคลังสภาพคล่อง
เมื่อผู้ใช้งานรายอื่นทำการซื้อขายบนคลังสภาพคล่อง สัดส่วนของสินทรัพย์ทั้งสองในคลังสภาพคล่องจะเปลี่ยนไป ยกตัวอย่างเช่นคลังสภาพคล่อง ETH/USDT หากผู้ใช้งานซื้อขายบนคลังสภาพคล่องและใช้ USDT เพื่อซื้อ ETH จำนวน ETH ในคลังจะลดลงและ USDT จะเพิ่มขึ้น เพื่อรักษา ETH และ USDT ให้คงที่ในคลังสภาพคล่องตลอดเวลา การลดลงของ ETH ต้องเป็นไปตามการเพิ่มขึ้นของ USDT จากการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองคือ (จำนวน USDT ที่เพิ่มขึ้น) / (จำนวน ETH ที่ลดลง) = (จำนวน USDT ที่อยู่ในคลัง) / (จำนวน ETH ที่อยู่ในคลัง) และอัตราส่วนระหว่างจำนวน USDT ที่เพิ่มขึ้นและจำนวน ETH ที่ลดลงจะถือได้ว่าเป็นราคาสินทรัพย์ในคลังสภาพคล่อง
เนื่องจากไม่มีโอกาสในการเก็งกำไรในตลาดที่มีประสิทธิภาพ ราคาสินทรัพย์ในคลังสภาพคล่องจึงมักจะใกล้เคียงกับราคาจริงของสินทรัพย์ ยกตัวอย่างเช่นคลังสภาพคล่อง ETH/USDT ในช่วงเวลาหนึ่ง ในขณะนี้ ปริมาณ ETH คือ 186.88 และปริมาณ USDT คือ 349,581 ตามสูตรแล้ว ราคา USDT / ETH ในคลังสภาพคล่องควรเป็น 349,581 / 186.88 = 1,870.62 ซึ่งใกล้เคียงกับราคาตลาด 1872.87 ดอลลาร์ ของ ETH ณ ขณะนั้น
การคำนวณ Impermanent Loss
เราทราบแล้วว่าธุรกรรมระหว่างผู้ใช้งานรายอื่นและคลังสภาพคล่อง สัดส่วนของสินทรัพย์ทั้งสองในคลังสภาพคล่องจะแตกต่างจากตอนที่ผู้ใช้งานฝากสินทรัพย์ทั้งสองลงในคลังสภาพคล่องเป็นครั้งแรก อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ใช้งานถอนสินทรัพย์กลับคืนมา พวกเขาจะถอนได้ตามสัดส่วนของสินทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลง ต่อไปเราจะสาธิตโดยการคำนวณว่าเหตุใดไม่ว่าราคาของสินทรัพย์ดิจิทัลจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด ก็จะก่อให้เกิด impermanent loss
เราจะใช้เงินทุนหมุนเวียน(Capital Pool) GT/USDT เป็นตัวอย่างและไม่ต้องสนใจค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม
1. สมมติว่ามี 9 GT และ 900 USDTs ในเงินทุนหมุนเวียน GT/USDT, 1GT=100 USDTs และสภาพคล่องทั้งหมดคือ 1800 USDs
2. ผู้ใช้งานชื่อ Alice ได้จัดเตรียม 1 GT และ 100 USDT ไว้สำหรับกองทุนร่วม GT/USDT ดังนั้นจึงมี 10 GTs และ 1000 USDTs ในกองทุนร่วม มูลค่าสภาพคล่องที่ถือโดยผู้ใช้งาน Alice คือ 200 USDs คิดเป็น 10% ในขณะนี้ สภาพคล่องรวมในคลังคือ 2000 USDs
สถานการณ์ที่ราคา GT เพิ่มขึ้น:
3. ในตลาดภายนอก ราคาของ GT เพิ่มขึ้นเป็น 400 USDT เมื่อผู้ซื้อขายชื่อ Bob ได้ซื้อขายบนคลังสภาพคล่องเพื่อเก็งกำไร Bob ซื้อ GT จากคลังและใส่ USDT ลงในเงินทุนหมุนเวียนจนกว่าราคาของ GT ในคลังจะเพิ่มขึ้นเป็น 400 USDTs
4. แม้ว่าปริมาณของโทเค็นทั้งสองในกองทุนร่วมจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลง แต่อัตราส่วนของ GT ต่อ USDT ในคลังมีการเปลี่ยนแปลง GT ราคาลดลงและ USDT ราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากการทำธุรกรรมในคลังของ Bob มี 5 GT และ 2000 USDT (เช่น10GT*1000USDT=5GT*2000USDT)
5. ขณะนี้ผู้ใช้งาน Alice ตัดสินใจแลกเงินทั้งหมด โดยแบ่งไว้ที่บัญชีของเธอ 10% ดังนั้นเธอจึงสามารถแลกได้ 0.5 GT และ 200 USDTs มูลค่ารวมตามราคาตลาดคือ 0.5 * 400 + 200 = 400 USDs
6. หากผู้ใช้งาน Alice เลือกที่จะถือ 1GT และ 100 USDT ตลอดเวลา มูลค่ารวมของสินทรัพย์จะสูงถึง 1 * 400 + 100 = 500 USDs ในทางกลับกัน เธอจะได้รับรายได้ที่สูงขึ้นซึ่งเป็น impermanent loss ตอนที่ราคาเพิ่มสูงขึ้น โดยคิดเป็น 20%
สถานการณ์ที่ราคา GT ลดลง:
3. ในตลาดภายนอก ราคาของ GT ลดลงเหลือ 25 USDT เมื่อผู้ซื้อขาย Bob ซื้อขายบนคลังสภาพคล่องเพื่อเก็งกำไร Bob ขาย GT ให้กับคลังและถอน USDT ออกจากกองทุนร่วมจนกว่าราคา GT ในคลังจะลดลงเหลือ 25 USDTs
4. แม้ว่าปริมาณของโทเค็นทั้งสองในกองทุนร่วมจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลง แต่อัตราส่วนของ GT ต่อ USDT ในคลังมีการเปลี่ยนแปลง GT เพิ่มขึ้นและ USDT ลดลง เนื่องจากการทำธุรกรรมของ Bob มี 20 GT และ 500 USDT ในคลัง (นั่นคือ 10GT*1000USDT=20GT*500 USDT) ขณะนี้ ราคา GT ในกลุ่มสภาพคล่องคือ 500 / 20 = 25 USDT ซึ่งเท่ากับราคาในตลาดภายนอก)
5. ขณะนี้ ผู้ใช้งาน Alice ตัดสินใจที่จะแลกเงินทั้งหมด และแบ่งไว้ที่บัญชีของเธอ 10% ดังนั้นเธอจึงสามารถแลกได้ 2 GT และ 50 USDTs โดยมีมูลค่ารวม 2 * 25 + 50 = 100 USDs
6. หากผู้ใช้งาน Alice เลือกที่จะถือ 1GT และ 100 USDT ตลอดเวลา มูลค่ารวมของสินทรัพย์จะสูงถึง 1 * 25 + 100 = 125 USDs ในทางตรงกันข้าม เธอจะได้รับรายได้ที่สูงขึ้น ซึ่งเป็น impermanent loss เมื่อราคาลงโดยคิดเป็น 20%
ตามคำจำกัดความภาษาอังกฤษของ "Impermanent Loss" ตามความหมายทั่วไปจะหมายถึง
"การสูญเสียชั่วคราว" หรือ "การสูญเสียที่ไม่ถาวร" ทั้งนี้เนื่องจาก Impermanent Loss ไม่ใช่การสูญเสียที่เกิดขึ้นในความหมายทั่วไปแต่เป็นการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อเทียบกับรายได้ที่มีอยู่เดิม ไม่ว่าราคาสินทรัพย์จะขึ้นหรือลง Impermanent Loss ก็จะเกิดขึ้นแต่ถ้าราคาสินทรัพย์กลับคืนสู่ระดับเดิมก่อนที่จะนำออกจากสภาพคล่อง Impermanent Loss ก็จะไม่เกิด
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
1. ค่า Impermanent Loss คืออะไร
ตารางต่อไปนี้ได้มาจากการคำนวณสัดส่วนของ impermanent loss จากการเปลี่ยนแปลงของราคา
วาดข้อมูลในตารางลงในกราฟเพื่อดูความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงของราคาโทเค็นและ impermanent loss
เมื่อราคาโทเค็นมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย ค่า impermanent loss ก็จะต่ำ เฉพาะเมื่อราคาโทเค็นลดลงมากกว่า 60% หรือเพิ่มขึ้นมากกว่า 150% impermanent los ก็มีแนวโน้มที่จะเกิน 10%
ยกตัวอย่างคลังสภาพคล่องจริง GT/USDT GT/USDT ในคลังสภาพคล่องในช่วงเวลาหนึ่งคือ 6.85774:
กรณีที่ 1: เมื่อ GT/USDT เพิ่มขึ้นเป็น 9 (ประมาณ 31%) impermanent loss จะอยู่ที่ 0.92% เท่านั้น
กรณีที่ 2: เมื่อ GT/USDT เพิ่มขึ้นเป็น 12 (ประมาณ 75%) impermanent loss จะอยู่ที่ 3.79% เท่านั้น
กรณีที่ 3: เมื่อ GT/USDT ลดลงเหลือ 5 (ประมาณ 27%) impermanent loss จะอยู่ที่ 1.23% เท่านั้น
กรณีที่ 4: เมื่อ GT/USDT ลดลงเหลือ 3 (ประมาณ 56%) impermanent loss จะอยู่ที่ 7.98% เท่านั้น
2. เมื่อเกิด Impermanent Loss ขึ้น จะไม่สามารถเรียกคืนได้ใช่หรือไม่
ไม่ ไม่ใช่ impermanent loss เป็นเพียงการสูญเสียชั่วคราวซึ่งจะรู้ได้ก็ต่อเมื่อมีการถอนสภาพคล่องออกจากคลังสภาพคล่องเท่านั้น
ตราบใดที่ราคาโทเค็นกลับคืนสู่ระดับเมื่อใส่สภาพคล่องเข้าไปก่อนที่จะดึงสภาพคล่องออกมา impermanent loss ก็จะไม่เกิดขึ้น
3. หากพิจารณาจาก Impermanent Loss คุ้มหรือไม่ที่จะเข้าร่วมการขุดสภาพคล่อง
โดยทั่วไปก็คุ้มค่า เมื่อราคาโทเค็นมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย ค่า impermanent loss ก็จะต่ำ ซึ่งจะต่ำกว่ารายได้ค่าธรรมเนียมในการขุดสภาพคล่องอย่างมาก
ผู้ใช้งานสามารถดูความสัมพันธ์ระหว่างอัตราค่าคอมมิชชั่นของผลตอบแทนและ impermanent loss ที่หน้าการขุดสภาพคล่อง
ผู้เขียน: นักสังเกตการณ์ Gate.io:
Edward H.
-บทความนี้แสดงความเห็นของผู้วิจัยเท่านั้น และไม่ถือเป็นข้อเสนอแนะในการลงทุนใดๆ
-Gate.io ขอสงวนสิทธิ์ทั้งหมดในบทความนี้ อนุญาตให้โพสต์บทความซ้ำโดยอ้างอิงถึง Gate.io ทั้งนี้ Gate.io จะดำเนินการทางกฎหมายสำหรับการละเมิดลิขสิทธิ์ทุกกรณี
บทความแนะนำจาก Gate.io
A Complete Guide to [Lending & Single-Asset Vault]
What are memecoins, and can they make you rich?
Bitcoin Slump:What Can We Expect Next?