1. SushiSwap กำลังสูญเสียผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นเหตุให้ทางโปรเจ็กต์ได้เพิ่มกิจกรรมเพื่อพยายามสร้าง "การปฏิรูปตนเอง" เมื่อเร็วๆนี้
2. SushiSwap เพิ่ม governance token SUSHI เป็นค่าตอบแทนจูงใจให้กับ Uniswap's liquidity pool + AMM mechanism
3. ค่าธรรมเนียมการจัดการ 0.25% ของ SushiSwap เป็นของผู้ถือ LP-token และ 0.05% ที่เหลือของรายได้ค่าธรรมเนียมการจัดการจะถูกนำไปใช้เพื่อซื้อ SUSHI ในตลาดคืน
4. ด้วยปริมาณธุรกรรมของ SushiSwap ที่มากขึ้น รายได้ค่าคอมมิชชั่นก็จะสูงขึ้น จำนวน SUSHI ที่ซื้อคืนมากขึ้น และราคา SUSHI ก็จะสูงขึ้น
เมื่อวันที่ 26 เมษายน SushiSwap บริษัท decentralized exchange (Dex) ที่รู้จักกันดีบน Ethereum ได้ประกาศเปิดตัวข้อเสนอของชุมชน SushiSwap 2.0 และเปิดตัวแผนงานการพัฒนาในอนาคตของ SushiSwap โดยโครงการจะใช้เงินจำนวน 6 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ เพื่อทำการปฏิรูปโครงสร้างองค์กร การต่ออายุผลิตภัณฑ์ การกำกับดูแลชุมชน และด้านอื่นๆ ภายในเวลา 4 ปี
SushiSwap ได้รับการพิจารณาให้เป็นหนึ่งในผู้เล่นชั้นนำใน Dex นับตั้งแต่การเปิดตัวและการเพิ่มขึ้นของสมาชิกอย่างรวดเร็วในเดือนสิงหาคม 2564 แต่อย่างไรก็ตาม SushiSwap ค่อยๆถูกลดความนิยมลดเนื่องจากรูปแบบการทำงานที่ไม่ต่างจากเดิมและการพัฒนานวัตกรรมของคู่แข่ง เช่น Uniswap ทำให้ข้อดีของมันก็ไม่โดดเด่นอีกต่อไป ส่งผลให้ SushiSwap กำลังสูญเสียผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นเหตุให้เมื่อเร็วๆ นี้ โปรเจ็กต์ได้เพิ่มกิจกรรมเพื่อพยายามสร้าง "การปฏิรูปตนเอง"
การเดินทางที่เริ่มต้นขึ้นจากการเลียนแบบ
SushiSwap ถือกำเนิดขึ้นโดยการคัดลอกแบบของ Uniswap ซึ่งเป็น Dex ที่ใหญ่ที่สุดบน Ethereum หรือ "community fork" ของ Uniswap โดย Dex และ Lending ถือเป็นแอปพลิเคชั่นที่สำคัญที่สุด 2 แอปพลิเคชั่นของ DeFi และ Uniswap ถือเป็นผู้วางรากฐานความเจริญรุ่งเรืองของโครงการ Dex ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา
ในด้านการเงินแบบดั้งเดิม ธุรกรรมมักจะเสร็จสิ้นผ่านโหมดคำสั่งซื้อ โดยขั้นแรก ผู้ใช้จะทำหน้าที่เป็น "ผู้ผลิต" และบางคนทำหน้าที่เป็น "ผู้รับ" เพื่อทำธุรกรรมระหว่างทั้งสองฝ่ายให้เสร็จสิ้น การแลกเปลี่ยนช่วงต้นใน DeFi นำแนวคิดที่คล้ายกันนี้มาใช้ แต่เนื่องจากมีผู้ใช้จำนวนน้อย ทำให้เกิดสภาพคล่องต่ำและจำนวนในการซื้อขายไม่เพียงพอต่อการแลกเปลี่ยน ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของรูปแบบการสั่งซื้อ และทำให้การซื้อขายช้าหรือมีการถูกเลื่อนออกไป โดยปกติแล้วคำสั่งซื้อมักจะมีผู้ดูแลสภาพคล่องในตลาด พวกเขาจะได้รับรายได้จากการเก็งกำไรจากการจัดหาสภาพคล่องในตลาด เป็นไปได้ไหมที่จะมีการสร้างผู้ดูแลสภาพคล่องแบบ algorithmic ตามลักษณะของ "code is law" ใน DeFi เพื่อเกิดมีสภาพคล่องแก่ผู้ใช้รายอื่น? Uniswap คือผู้คิดค้นโหมดพื้นฐานของการจับคู่ธุรกรรมและเปิดตัวเทคโนโลยีผู้ดูแลสภาพคล่องอัตโนมัติที่เรียกว่า AMM
ภาพ: รายชื่อกลุ่มสภาพคล่องบนเว็บไซต์ทางการของ Uniswap
คู่การซื้อขายแต่ละคู่บน Uniswap สอดคล้องกับกลุ่มสภาพคล่อง และราคาในกลุ่มสภาพคล่องจะถูกกำหนดโดยสูตรง่ายๆ คือ x*y=c โดยผู้ใช้สามารถใส่สินทรัพย์ดิจิทัลของพวกเขาลงไป แล้วรับ LP token จำนวนหนึ่งซึ่งแสดงถึงส่วนแบ่งสภาพคล่อง และรับรายได้จากการทำตลาดของส่วนแบ่งที่เกี่ยวข้องในกลุ่ม กลไกนี้เรียบง่ายแต่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความเร็วในการทำธุรกรรมได้อย่างมากและลดจุดผิดพลาดให้ได้มากที่สุด ในขณะเดียวกัน ยังให้สิ่งจูงใจที่เพียงพอสำหรับผู้ใช้ในการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลของพวกเขาในแหล่งรวมสภาพคล่อง ด้วยความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของ Uniswap ทำให้มี exchange เพิ่มมากขึ้นในตลาด และ SushiSwap ก็เป็นหนึ่งในนั้น
แม้ว่ากลไก Uniswap จะดี แต่ก็มีปัญหาอยู่บ้าง ประการแรก มันไม่ปลอดภัยสมบูรณ์สำหรับผู้ใช้ในการฝากเงินเข้ากลุ่มสภาพคล่อง และอาจมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียแม้จะไม่ใช่การสูญเสียถาวรก็ตาม ยิ่งสภาพคล่องรวมในกลุ่มต่ำเท่าไหร่ความเสี่ยงก็จะยิ่งมากขึ้น ประการที่สอง สิ่งจูงใจของกลุ่มสภาพคล่องขึ้นอยู่กับปริมาณสภาพคล่องในกลุ่มเท่านั้น และไม่มีค่าตอบแทนความเสี่ยงเฉพาะสำหรับผู้ใช้ที่ลงทุนในสินทรัพย์ในระยะเริ่มต้น
SushiSwap เพิ่ม governance token SUSHI เป็นแรงจูงใจให้กับกลไกสภาพคล่องของ Uniswap + AMM โดย Uniswap จะให้ LP-token แก่ผู้ให้บริการสภาพคล่อง ซึ่งไม่ใช่ governance token แต่เป็นเสมือนบัตรกำนัลที่ให้ส่วนแบ่งสภาพคล่องในกลุ่มสภาพคล่อง โดย SushiSwap ไม่เพียงแต่มอบ LP-token ให้เท่านั้น แต่ยังมอบ SUSHI ให้กับกลุ่มสภาพคล่องหลักใน batch อีกด้วย แต่ละ block จะผลิต 100 SUSHI โดยไม่จำกัดจำนวน และ SUSHI เหล่านี้จะยังคงได้รับการจัดสรรตามสัดส่วนของสภาพคล่อง ดังนั้นนักลงทุนกลุ่มแรกในกลุ่มสภาพคล่องได้รับ SUSHI มากขึ้น เนื่องจากจำนวนผู้เข้าร่วมในกลุ่มยังค่อนข้างน้อย รางวัล SUSHI สำหรับกลุ่มสภาพคล่องจึงถือเป็นการชดเชยการสูญเสียที่ไม่ถาวรและยังมีบทบาทในการส่งเสริมการลงทุนในช่วงต้นอีกด้วย
ในแง่ของการกระจายรายได้ค่าธรรมเนียมการจัดการ ค่าธรรมเนียมการจัดการของ SushiSwap เท่ากับ 0.3% เหมือนกับ Uniswap แต่การคืนค่าธรรมเนียมการจัดการไม่เหมือนกัน โดยของ Uniswap จะให้กับผู้ถือ LP-token 0.25% ของค่าธรรมเนียมการจัดการ ในขณะที่ SushiSwap เป็นผู้ถือ LP-token และ ส่วนที่เหลือ 0.05% ของรายได้ค่าธรรมเนียมการจัดการจะนำไปใช้ซื้อ SUSHI คืนในตลาด ส่งผลให้ยิ่งปริมาณธุรกรรมของ SushiSwap มากขึ้นเท่าไหร่ รายได้ค่าธรรมเนียมการจัดการก็จะสูงขึ้นเท่านั้น จำนวนการซื้อซ้ำของ SUSHI จะสูงขึ้น และราคาของ SUSHI ก็สูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น ประสิทธิภาพของราคาของ SUSHI จึงสัมพันธ์กับการดำเนินงานโดยรวมของ SushiSwap และยังถือได้ว่าเป็นสกุลเงินของแพลตฟอร์ม SushiSwap
"Vampire attack" บน Uniswap
เหตุการณ์อื้อฉาวอีกประการหนึ่งในตอนเริ่มต้นของการเปิดตัว SushiSwap คือ "Vampire attack" บน Uniswap โดย SushiSwap คัดลอกเทคโนโลยีพื้นฐานของ Uniswap เพื่อสร้างกลไกการทำงานของตัวเอง แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะประสบความสำเร็จให้ได้แบบ Uniswap ทาง Sushiswap จึงเปิดโอกาสให้ stake LP-token ของ Uniswap โดยสามารถเอามาแลกผลตอบแทนได้ และเปิดโอกาสให้แลก Uniswap LP-token เหล่านี้ผ่าน smart contract หลังจากระยะเวลาผ่านไปช่วงหนึ่ง และแปลงเป็น LP-token บน Sushiswap ได้ ส่งผลให้หลังจากการเปิดตัว SushiSwap สภาพคล่องเกือบ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐถูกโอนจาก Uniswap ไปยัง SushiSwap ทำให้ SushiSwap เติบโตอย่างรวดเร็วใน decentralized exchanges
ไม่ต้องสงสัยเลยว่า SushiSwap จะประสบความสำเร็จหรือไม่ โครงการดังกล่าวรวบรวมสภาพคล่องและผู้ใช้จำนวนมากในระยะสั้น และแม้กระทั่งบังคับให้ Uniswap เปิดตัว governance token UNI ของตนเอง และสร้าง airdrop มูลค่านับสิบล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งส่งผลดีของ SushiSwap ด้วย ผู้ใช้ฝากสินทรัพย์บน SushiSwap เพื่อรับรายได้สูงในระยะสั้น จากนั้นจึงนำสินทรัพย์ออกและขาย SUSHI token อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ราคา token ลดลงอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกัน ผู้บริหารที่ไม่ระบุชื่อของ SushiSwap ได้ขายโทเค็น SUSHI มูลค่า 14 ล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นการส่วนตัว ซึ่งนำไปสู่การล่มสลายของความเชื่อมั่นของชุมชน crypto ใน SushiSwap อย่างรวดเร็ว
ที่มา: Coinbase
ด้วยเหตุนี้ Sushiswap จึงได้จัดตั้งทีมปฏิบัติการใหม่โดยมี "0xMaki" เป็นผู้นำหลัก ส่งผลให้สถานการณ์ดีขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ในเดือนกันยายน 2564 มีการเปลี่ยนแปลงบุคลากรภายใน Sushiswap โดยทีม 0xmaki ได้ออกจากบริษัท ส่งผลให้โครงการตกอยู่ในความโกลาหลอีกครั้ง ราคา token และส่วนแบ่งการตลาดก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง
ภาพ: theblockcrypto.com
เมื่อเปรียบเทียบกับ decentralized exchanges ชั้นนำ เช่น Uniswap และ Curve แล้ว Sushiswap มี ปริมาณการซื้อขาย TVL เฉลี่ยต่อวันน้อยกว่าเจ้าอื่นๆ ทีมงานโครงการจึงเริ่มแสวงหาแนวทางเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ หลังพายุที่พัดผ่านเข้ามา SushiSwap สามารถทำลายสถานะย่ำแย่ที่เป็นอยู่และลุกขึ้นใหม่ได้หรือไม่? มารอดูกัน
สุดท้าย คุณสามารถเข้าถึงหน้าธุรกรรมของ $SUSHI บนแพลตฟอร์ม Gate.io ได้ โปรดดูรายละเอียดในหน้าต่อไปนี้:
https://www.gate.io/trade/SUSHI_USDT
ผู้เขียน: Gate.io นักวิจัย: Edward H. แปลโดย: Joy Z.
-บทความนี้แสดงความเห็นของผู้วิจัยเท่านั้น และไม่ถือเป็นข้อเสนอแนะในการลงทุนใดๆ
-Gate.io ขอสงวนสิทธิ์ทั้งหมดในบทความนี้ อนุญาตให้โพสต์บทความซ้ำโดยอ้างอิงถึง Gate.io ทั้งนี้ Gate.io จะดำเนินการทางกฎหมายสำหรับการละเมิดลิขสิทธิ์ทุกกรณี
บทความของ Gate.io ที่เกี่ยวข้อง
เรื่องราวทั้งหมดของการซื้อกิจการ Twitter ของ Musk
Optimism Airdrop กำลังมาแรง แนวคิดการกำกับดูแลชุมชนแบบใหม่กำลังจะเกิดขึ้น